ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมเดิมมีชื่อว่าโรงเรียนบ้านอุ้มผางเปิดสอนในระดับชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย ( ป.5– ป.7 )  เมื่อปี  พ.ศ. 2499  สังกัดกองการศึกษาพิเศษกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการโดยมีนายภุชงค์สุขุมวัฒนะเป็นครูใหญ่และที่ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงแรก   (ติดกับโรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง )  มีเนื้อที่  9  ไร่3 งาน  31 ตารางวา
      ต่อมาเมื่อวันที่  20  เมษายน  2519  โดยคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งให้เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอและเปลี่ยนชื่อเป็น  “ โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ” สังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการและในเวลาต่อมากรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้  นายพิษณุ  สราญรมย์  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมเป็นท่านแรก
       ปีการศึกษา  2521  โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมได้ย้ายจากที่ดินแปลงเดิม  มาตั้งอยู่ติดที่ริมถนนสายแม่สอด – อุ้มผาง   ทางทิศตะวันออกระหว่างหลักกิโลเมตรที่  163 – 164   ( ที่ปัจจุบัน ) มีเนื้อที่ทั้งหมด  115  ไร่โดยมีอาจารย์ใหญ่ท่านเดิมได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นมา1หลังจำนวน  3  ห้องเรียนมีครูปฏิบัติการสอนจำนวน7คนนักการภารโรงจำนวน1คน
       ปีงบประมาณ  2521  กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณหมดที่ดินและสิ่งก่อสร้างได้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  108ต    จำนวน1หลังและอาคารโรงฝึกงานจำนวน1หลัง   ในวันที่14พฤศจิกายน2529นายพิษณุสราญรมย์ได้มีคำสั่งย้ายไห้ไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนพบพระวิทยาคมอำเภอพบพระจังหวัดตากและกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้   นายปรีชาเชษฐ์ตระกูลมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนเมื่อวันที่  14  พฤศจิกายน  2529  ด้านการจัดการเรียนการสอน     โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมได้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนในปีการศึกษา  2538  กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
       ปี  พ.ศ. 2542  นายปรีชาเชษฐ์ตระกูลตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามเงาวิทยาคม  อ.สามเงา  จ.ตาก  และต่อจากนั้นกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายมังกรลี่วัฒนายิ่งยงมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมแทนในวันที่  8มกราคม  2542  จนถึงวันที่  24  กุมภาพันธ์  2542
ในช่วงขณะที่นายมังกรลี่วัฒนายิ่งยงดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ได้ทำการพัฒนาโรงเรียนหลายๆด้านเช่นพัฒนาห้องสมุดกาญจนาภิเษกปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนกระบวนการเรียนการสอนจนทำให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประจำปีการศึกษา  2542  และทำให้นางสาวอัจจิมาเมืองชื่นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5ได้รับนักเรียนรางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา  2543ตามลำดับ